เมื่อกล่าวถึงนักฟุตบอลระดับเก่งๆ ของลีกดังๆ ต่างประเทศทุกคนก็จะนึกถึงรถสวยๆ เงินมากๆ รวมถึงสาวสวยมากมายที่อยู่ข้างตัวของนักบอลเหล่านั้น แต่ทุกอย่างย่อมมีสองด้านเสมอ เพราะความเป็นจริงแล้วฟุตบอลที่เป็นกีฬาที่คนทั่วโลกต่างชอบกันมากที่สุดนั้น หากเทียบกับกีฬาชนิดอื่นๆ แล้วนักฟุตบอลกลับเสี่ยงที่จะเกิดอาการบากเจ็บได้มากกว่ากีฬาชนิดอื่นถึง 2 เท่าเลยทีเดียว และไม่ใช่อาการบาดเจ็บแบบเบาๆ อย่างเดียวที่นักฟุตบอลจะเจอ เพราะมีบางอาการก็ทำให้ถึงตายได้เช่น ไบรอัน เฮอร์เบิร์ตที่เสียชีวิตด้วยเส้นเลือดในสมองแตกอันเนื่องมาจากโหม่วงบอลมากจนเกินไป วันนี้เรามาดูกันครับว่ามีอาการเจ็บป่วยทางร่างกายอะไรบ้าง ที่นักบอลทั้งหลายจะต้องเสี่ยงที่จะเจอหากยังคงเล่นฟุตบอลอาชีพต่อไป
DVT (Deep-Vein Thrombosis) หรือ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ
โรคนี้ไม่ใช่เพียงคนที่ต้องเดินทางด้วยเครื่องบิน หรือขับรถทางไกลบ่อยๆ จะเจอนะครับกับโรคภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ เพราะนักฟุตบอลก็เจอได้เช่นกัน
อาการของโรคนี้คือมีลิ่มเลือดเข้าไปอุดตันในส่วนที่ลึกของเส้นเลือดดำ ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด และบวมขึ้นมา ถ้าหากว่าไม่ทำการวินิจฉัยถึงสาเหตุและทำการรักษา และปล่อยอาการไว้แบบนั้นสุดท้ายลิ่มเลือดจะแตกออกเข้าสู่กระแสเลือดและไหลเวียนแพร่กระจายไปยังส่วนของปวด สุดท้ายก็จะเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอดในที่สุด
สาเหตุที่บรรดานักฟุตบอลทั้งหลายเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้นั่นก็คือการแข่งขันกีฬาฟุตบอลนั้นโดยเฉพาะช่วงหลังการแข่งขันร่างกายจะเสียน้ำอย่างมากทำให้เลือดในร่างกายมีความเข้มข้นสูงจึงเป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดขึ้น
ดังนั้นสโมสรใหญ่ๆ จึงให้นักเตะของตนใส่ถุงเท้าที่มีการบีบรัดเป็นพิเศษหลังจากเสร็จสิ้นการแข่งเพื่อลดการอักเสบและปวดกล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ซึ่งอาจจะทำให้นักฟุตบอลเล่นได้ไม่เต็มความสามารถ หรือทำให้ต้องเลิกเล่นไปเลย
Ankle sprain หรือ ข้อเท้าแพลง
นักฟุตบอลไม่ว่าจะนักฟุตบอลอาชีพ หรือนักฟุตบอลสมัครเล่นก็ตาม อาจจะต้องเคยเจอกับอาการข้อเท้าพลิก แพลง หรือ บิดบ้างในบางครั้ง ซึ่งข้อเท้านั้นเป็นจุดที่มีโอกาสบาดเจ็บได้มากกว่าส่วนอื่นๆ
อาการของข้อเท้าแพลงนั้นจะเป็นการส่งผลกระทบโดยตรงกับเส้นเอ็นและพังผืดบริเวณของข้อเท้า เอ็นในส่วนนี้จะทำหน้าที่ในเรื่องของสมดุลการทรงตัว หากได้รับอาการบาดเจ็บก็จะเกิดอาการบวมและรู้สึกเจ็บปวด ซึ่งจะส่งผลกระทบให้ไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก อาจจะเป็นสัปดาห์ หรืออาจจะเป็นเดือนเลยทีเดียว
การปฐมพยาบาลสามารถทำได้โดยใช้วิธีการ RICE อันได้แก่
rest หรือการพัก โดยเลี่ยงการเคลื่อนไหว หรือทำกิจกรรมต่างๆ
ice หรือน้ำแข็ง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
compression หรือการใช้ผ้ารัด เอาผ้ามาพันห่อข้อเท้าเอาไว้เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวและลดอาการปวด
elevation หรือการยกสูง เป็นการยกข้อเท้าให้สูง เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เลือดไปเลี้ยง จะช่วยให้ข้อเท้าบวมน้อยลงและหายได้รวดเร็วมากขึ้น
วิธีการนี้จะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 48 – 72 ชั่วโมงหลังการบาดเจ็บ
หลังจากนั้นก็จะต้องทำการภาพบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญ อย่าถูกวิธีเพื่อทำการฟื้นสภาพของข้อเท้า